ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว บงกช เพ่งหารัพย์ คะ

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  9
วัน จันทร์ ที่ 3 ตุลาคม  พ..2559 เวลา 8 : 30 – 11 : 30 .

เนื้อหาการเรียน 
        วันนี้มีการนำเสนองานวิจัยของแต่ละกลุ่มและมีการแจกใบประเมินให้ทุกๆคนประเมินของแต่ล่ะกลุ่มโดยกลุ่มแรกที่ออกไปคือกลุ่มของดิฉันเอง

กลุ่มที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองจังหวัดมหาสารคาม
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองจังหวัดมหาสารคาม
การศึกษาระดับ วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ปีที่ทำวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2549
ปีที่พิมพ์ 2551
ผู้วิจัย  รองศาสตราจารย์ สุมาลัย วงศ์เกษม
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1  นโยบายของคณะรัฐมนตรี 2548 มีนโยบายพัฒนาคนและ
สังคมที่มีคุณภาพ  คือ  การทำให้คนมีความสุข
ประเด็นที่ 2  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  ครอบครัวอบอุ่น 
และสถานศึกษาที่เอาใจใส่อย่างใกล้ชิดด้วยการปลูกฝังความรู้ที่ทันโลก 
สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองรู้ถึงวิธีการดูแลบุตรที่ถูกต้องตามระดับ
การพัฒนาของสมอง
ประเด็นที่ 3  เด็กวัยปฐมวัยได้รับความสนใจจากสังคมน้อยกว่าวัยอื่นๆ
เห็นได้จากการลงทุนจากภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับวัยเรียนมากที่สุด 
เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบส่วนใหญ่ได้รับการดูแลจากมารดาโดยบิดา
ช่วยเหลือบ้าง แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาเพียงชั้นประถม 
จึงทำให้มีข้อจำกัดทางความรู้ในการดูแลเด็ก ผู้จัดทำงานวิจัยจึงเห็นว่าควรให้ความสำคัญ
ในการจัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองในการดูแลเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องขึ้นมา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง
จังหวัดมหาสารคาม              
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อหลักสูตรการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
สำหรับผู้ปกครองจังหวัดมหาสารคาม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้ได้หลักสูตรในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพและ
สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรบผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี                                                                          
2.ได้คู่มือการใช้หลักสูตรในการอบรบเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมกับผู้เรียน                                  
3. ผู้ปกครองได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการอบรบเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ได้ทักษะในการแก้ปัญหาและจิตสำนึกในการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข



กลุ่มที่ 2 การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย ในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
การศึกษาระดับ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2554
ผู้วิจัย คุณแสงวิไล จารุวาที
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1  ภาษาเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อกัน เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด และทัศนคติต่างๆ ภาษาเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับมนุษย์ในการสื่อสารกับผู้อื่น
ประเด็นที่ 2  ภาษาของมนุษย์ต้องเกิดจากการเรียนรู้ จากการศึกษาพัฒนาการทางภาษาของมนุษย์
ประเด็นที่ 3  ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และแผนการดำเนินการใช้โปรแกรมที่ได้ จากการวิจัยนี้ โรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องไปกับการ เรียนการสอนของทางโรงเรียน
2.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษ ของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนที่มีลักษณะและแนวการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพและความพร้อม ของโรงเรียนนั้นๆ
3.ช่วยให้ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการมีบทบาททางการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย






กลุ่มที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย





กลุ่มที่ 4 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน




กลุ่มที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
การศึกษาระดับ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัย  เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปีที่ทำวิจัย พ.ศ. 2554
 ผู้วิจัย สุภาวิณี  ลายบัว
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1 ศึกษาระดับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเด็นที่ 2 ศึกษาระดับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และสังคม ด้านสติปัญญา ด้านคุณธรรมจริยธรรม
ประเด็นที่ 3 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำข้อมูลมาเป็นข้อมูลในการให้ความรู้เพิ่มเติม หรือจัดกิจกรรม ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ปกครองสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างเต็มศักยภาพ
การวิจัยทำให้ทราบแนวทางในการวางแผน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
การวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม

 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการงานที่เพื่อนนำเสนอมาเป็นแนวทางในการจัดโครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ ทำให้เราเข้าใจถึงวิธีการไปให้ความรู้กับผู้ปกครองต้องมีการดำเนินงานอย่างไร

การประเมิน
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนองานอย่างตั้งใจ และตั้งใจนำเสนองานของกลุ่มตัวเอง
ประเมินเพื่อน วันนี้เป็นๆทุกคนน่ารักตั้งใจฟังการนำเสนองานเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  อาจารย์ตั้งใจฟังนักศึกษานำเสนองาน และคอยตั้งคำถามให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด เพื่อที่จะได้คิดตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น