ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว บงกช เพ่งหารัพย์ คะ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  4
วัน จันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ..2559 เวลา 8 : 30 – 11 : 30 .


เนื้อหาสาระที่เรียน
        ก่อนที่จะเริ่มเรียนอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ได้เล่นก่อนที่จะนำสู่การเนื้อหา



          วันนี้ได้เรียนเกี่ยวกับ การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัยโดยเนื้อหามีดังนี้
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
1.รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)
2.รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication)
3.รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication)
4.รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์(C.E Osgood and Willbur Schramm’s )
5.รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication)

องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2.ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3.สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4.ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
ความเข้าใจและการตอบสนอง
  • ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
  • ผู้จัดกับผู้ชม
  • ผู้พูดกับผู้ฟัง
  • ผู้ถามกับผู้ตอบ
  • คนแสดงกับคนดู
  • นักเขียนกับนักอ่าน


วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1.เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2.เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
3.เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
4.เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม

ประเภทของการสื่อสาร จำแนกเป็น 3 ประการคือ
1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสารประกอบด้วย  1.การสื่อสารทางเดียว  2.การสื่อสารสองทาง
2.จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก ประกอบด้วย 1.การสื่อสารเชิงวัจนะ 2.การสื่อสารเชิงอวัจนะ
3.จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร การสื่อสารของมนุษย์ มี 3 ลักษณะคือ
1.การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
2.การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
3.การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

 ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
  • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  • ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง









ออเออร์บาค (Auerbach,1968) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้
1.ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
2.ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
3.ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
4.การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
5.การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
6.ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
7.การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีประเด็นสำคัญดังนี้
1.เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
2.เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
3.มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
4.เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
5.เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
6.ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
7.เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย 7 c กับการสื่อสารที่ดี
1.Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
2.Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
3.Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
4.Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
5.Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
6.Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
7.Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
 1. ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
2.พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
3.พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
4.หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
5.ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
6.มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
7.เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

การประเมิน
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจเรียนและเข้าใจกับเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน ประมาณ 85 เปอร์เซน
ประเมินเพื่อน วันนี้เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนและไม่คุยกัน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการเตรียมเนื้อหาการสอนมาเป็นอย่างดีและอธิบายได้อย่างเข้สใจง่ายมีการยกตัวอย่างให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา อย่างเข้าใจ
ความสำคัญ การสื่อสาร เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเป็นปกติวิสัยของคนทุกคน และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่น ตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทั้งสิ้น

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าสิ่งที่ครูได้สอนกับลูกนั้นได้มีอะไรบ้างและได้รู้ถึงวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อให้เป็นการสื่อสารกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นสารที่มีความเหมาะสมและต้องตรงกับความต้องการของผู้ปกครองและเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองมีความสนใจ เช่น การทำแผ่นแจกใบความรู้และมีกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองและเด็กได้ทำร่วมกัน เพื่อที่ผู้ปกครองจะสามารถทราบได้ว่าลูกของตัวเองได้เรียนอะไรไปในแต่ละสัปดาห์

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ   1.เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
          2.เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
          3.มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
          4 เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
         5.เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
         6.ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
         7.เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ1. ความพร้อม 2.ความต้องการ 3.อารมณ์และการปรับตัว 4.การจูงใจ 5.การจูงใจ 6.ทัศนคติและความสนใจ 7.ความถนัด